ข้อแตกต่างระหว่างนิชิเรนโชชู และ นิชิเรนชู ของ นิจิเร็นชู

  • นิชิเรนโชชูเชื่อว่า พระนิชิเรน เป็นพระพุทธะ ซึ่งเป็นพระพุทธะแห่งสมัยปัจฉิมธรรม ในขณะที่นิชิเรนชู เชื่อว่า พระนิชิเรน เป็นเพียงพระวิศิษฐ์จาริตรโพธิสัตว์ มาปรากฏตัวตามคำพยากรณ์ในสัทธรรมปุณฑริกสูตรบทที่ 21 ที่มาทำหน้าที่เผยแผ่คำสอนหลังการปรินิพพานของพระศากยมุนีพุทธเจ้าเท่านั้น ไม่ได้เป้นพระพุทธะแต่อย่างใด และจะยังคงนับถือรูปเคารพของพระศากยมุนีและรวมเทวรูปของนิกายอื่นเข้าด้วยกันต่อไป
  • นิชิเรนชู ยังคงกราบไหว้พระพุทธรูป นั่งสมาธิ วิปัสนา ต่างๆ ตามแบบนิกายอื่น แต่นิชิเรนโชชูจะไม่กราบไหว้พระพุทธรูป หรือ นั่งสมาธิ วิปัสนา
  • นิชิเรนชู ประมุขสงฆ์ ซึ่งแตกต่างกับ นิชิเรนโชชู ที่จะมีพระสังฆราชทำหน้าที่เป็นประมุขสงฆ์ และเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในศาสนจักร
  • กลุ่มของสมาชิกของนิชิเรนโชชูจะเรียกว่า "ฮกเคะโคะ" (Hokkeko) ในขณะที่นิชิเรนชูเรียกว่า "ฮกเคะเคียว" (Hokkekyo)
  • พระสงฆ์นิชิเรนโชชูจะนุ่งจีวรสีขาวและเทาเท่านั้น ในขณะที่นิกายนิชิเรนชูจะนุ่งสีเหลือง ม่วง หรือน้ำตาลด้วย
  • นิชิเรนชู ปฏิเสธไดโงะฮนซนของนิชิเรนโชชู โดยอ้างว่า ไม่มีหลักฐานว่าพระนิชิเรนได้จารึกโงะฮนซนลงบนแผ่นไม้
  • ทั้งสองนิกายจะมีสิ่งสักการบูชาที่เหมือนกันคือโงะฮนซน เพียงแต่โงะฮนซนของนิชิเรนโชชูถอดแบบออกมาจากไดโงะฮนซน ส่วนนิชิเรนชูก็จะถอดแบบมาจากโงะฮนซนต้นฉบับที่ พระนิชิเรนมอบให้กับเหล่าพระอาวุโส และโงะฮนซนในวัดคุอนจิ
  • แม้ทั้งสองนิกายจะสักการะโงะฮนซนเหมือนกัน แต่นิกายนิชิเรนชูนั้นจะมีการบูชาแบบผสมผสาน เช่นอาจนำพระพุทธรูปมาวางไว้ในตู้พระ (บุทสึดน) ควบคู่กับโงะฮนซน แตกต่างกับนิชิเรนโชชูที่จะไม่เชื่อและไม่กราบไหว้รูปเคารพ โดยกล่าวว่า พระพุทธรูปเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายหลังพระศากยมุนีปรินิพพานไปแล้วนับร้อยๆปี และไม่มีคำสั่งใดๆของพระพุทธเจ้าในพระไตรปิฎกของนิกายหินยานให้นมัสการรูปเคารพ
  • ทั้งสองนิกายจะสวดมนต์บทธรรมสารถัต (นัมเมียวโฮเร็งเงเคียว) เหมือนกัน แต่นิชิเรนโชชูจะสวดคัมภีร์สัทธรรมปุณฑริกสูตรเพียงแค่บทที่ 2 และ 16 เท่านั้น ในขณะที่นิชิเรนชูสวดทั้ง 28 บท
  • นิชิเรนโชชูมีศูนย์กลางที่วัดไทเซขิจิ ในขณะที่ศูนย์กลางของนิชิเรนชูคือ วัดคุอนจิ